แนวคิดเรื่อง เสาใจบ้าน หอปรัชญารัชกาลที่ ๙

“เสาใจบ้าน” เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่สำคัญของหอปรัชญา รัชกาลที่ ๙ ซึ่งแนวคิดได้สะท้อนเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมล้านนา โดยตามความเชื่อความเชื่อดั้งเดิมของคนท้องถิ่นในภาคเหนือจะให้ความสำคัญกับพื้นที่กลางเมืองหรือกลางหมู่บ้านค่อนข้างสูง ดังนั้นบริเวณสะดือเมืองหรือกลางหมู่บ้าน จึงถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมักจะเป็นที่ตั้งของสิ่งที่เป็นมงคลที่ชาวบ้านชาวเมืองให้การเคารพนับถือ โดย “เสาใจบ้าน” มีลักษณะเป็นหลักขนาดใหญ่ที่ปักไว้บริเวณใจกลางหมู่บ้าน ทำหน้าที่เป็นหลักบ้านหรือศูนย์กลางของคนในหมู่บ้าน เช่นเดียวกับ “เสาใจบ้าน” ที่ตั้งอยู่ภายในอาคารหอปรัชญารัชกาลที่ ๙ นี้เป็นศิลปะเชิงช่างล้านนาที่ได้มีการจำลองแนวคิดเดียวกันมาออแบบจัดวาง ตั้งแต่พื้นที่ตั้งและความเชื่อ โดยสถานที่ตั้งของเสาใจบ้านนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลางพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเป็นจุดศูนย์กลางของอาคารหอปรัชญา รัชกาลที่ ๙ สำหรับลักษณะของเสาใจบ้านนี้เป็นรูปทรงเรขาคณิตประดับรวดลายของน้ำรวงข้าวและเมฆฝน นอกจากนั้นยีงตกแต่งด้วยตุงปราสาทที่เป็นสัญลักษณ์ ของชาวเชียงรายละตามความเชื่อของชาวล้านนา ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในงานพิธีต่างๆ โดยเรือนยอดเสาใจบ้านมีปราสาทเฟื้องประดับด้วยกระจก ฐานไม้ตกแต่งด้วยลวดลายสิบสองนักษัตร มีเสารับเป็นเรอนปราสาทแปดต้น ด้านในมีแท่นแก้วประดับลายกระจกศิลปะล้านนา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับพระราชทาน จากรพะบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

นอกจากนั้น ลักษณะรูปทรงของ “เสาใจบ้าน” ยังมีรูปทรงและความหมายแฝงอันลึกซึ้งอีกประการหนึ่ง กล่าวคือ รูปทรงของเสาใจบ้าน ที่ดูคล้ายปิรามิดหัวกลับที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ทรงแบกรับพระราชภาระที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อให้ประชาชน และทรงอุทิศพระวรกายทรงงานอย่าหนักเพื่อให้ประชาชน ของพระองค์มีความอยู่ดีกินดี ดังคำกล่าวที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานสัมภาษณ์สำนักข่าวเอพี ไว้ว่า “เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนปิรามิดมีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอดและมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้วเหมือนจะอยู่ตรงข้าม....”