ความหมายของตราสัญญลักษณ์หอปรัชญา

สีทอง เป็นตัวแทน ของความรุ่งเรืองและความยั่งยืน ในแผ่นดินของรัชกาลที่ ๙ โดยมีเลข ๙ อยู่กลางใบโพธิ์ ซึ่งสื่อถึงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ใบโพธิ์ สื่อถึง ความรู้ และหลักการทรงงานของพระมหากษัตริย์ ที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และปฏิบัติมาโดยตลอดการครองราช เพื่อความสุขของปวงประชาชาวไทย

เอกลักษณ์หน่วยงาน
เป็นแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาการทรงงาน รัชกาลที่ ๙ ที่ทันสมัยของภาคเหนือ

วิสัยทัศน์
หอปรัชญารัชกาลที่ ๙ เป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาอย่างยั่งยืน

พันธกิจ
๑. เป็นศูนย์เผยแพร่และแหล่งเรียนรู้ด้านศาสตร์พระราชาแก่นักศึกษา เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น
๒. เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษา
๓. พัฒนาระบบนวัตกรรมมาปรับใช้ในการบริหารจัดการของหอปรัชญารัชกาลที่ ๙ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
๔. พัฒนางานบริการ การจัดการพื้นที่หอปรัชญารัชกาลที่ ๙ ให้เกิดรายได้ และนำไปสู่ความยั่งยืน
๕. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการ สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีตามศาสตร์พระราชา
๖. ดำเนินการวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์พระราชา

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เผยแพร่และแหล่งเรียนรู้ด้านศาสตร์พระราชาแก่นักศึกษา เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น
๒. เพื่อเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษา
๓. เพื่อพัฒนาระบบนวัตกรรมมาปรับใช้ในการบริหารจัดการของหอปรัชญารัชกาลที่ ๙ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
๔. เพื่อพัฒนางานบริการและจัดการพื้นที่หอปรัชญารัชกาลที่ ๙ ให้เกิดรายได้ และนำไปสู่ความยั่งยืน
๕. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการ สังคม และศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีตามศาสตร์พระราชา
๖. เพื่อดำเนินงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์พระราชา

เป้าหมายหลักของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยงาน ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕)
๑. นักศึกษา เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น มีความเข้าใจในศาสตร์ของพระราชาสู่การนำไปปฏิบัติเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
๒. นักศึกษาที่เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เกิดทักษะการทำงานโดยนำหลักปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
๓. ระบบบริหารจัดการของหอปรัชญารัชกาลที่ ๙ มีการนำเอานวัตกรรมมาปรับใช้ เพื่อให้เกิดคุณภาพ
๔. เป็นหน่วยงานที่มีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินงานของหอปรัชญารัชกาลที่ ๙
๕. เป็นศูนย์ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๖. ผลงานวิจัยด้านศาสตร์พระราชาได้รับการยอมรับ และนำองค์ความรู้ไปบูรณาการกับการเรียนการสอนและการบริการวิชาการแก่สังคม
๗. การขยายองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติในกลุ่มต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑: พัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศาสตร์พระราชา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒: การนำนวัตกรรมทางการบริหารมาพัฒนาการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓: ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางวิชาการ สังคม และศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีตามศาสตร์พระราชา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔: พัฒนาและสร้างองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่ท้องถิ่น