ผลงานวิจัยองค์ความรู้ด้านศาสตร์พระราชา

ในรอบปีที่ผ่านมาหอปปรัชญารัชกาลที่ ๙ ได้สนับสนุนให้มีการทำวิจัยองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา ซึ่งถือเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ หลักปรัชญาการทรงงานของรัชกาลที่ ๙ โดยในระยะแรกได้มีการจัดทำวิจัย เรื่อง ย้อนรอยพระบาทที่ยาตรา เรียนรู้สู่ศาสตร์พระราชา ซึ่งได้ศึกษาวิเคราะห์ในพื้นที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จ ทรงงาน และมีพระราชดำริการพัฒนาในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา โดยศาสตร์พระราชา (The King`s Philosophy) เปรียบเสมือนองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ และนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยได้แยกออกตามองค์ความรู้ ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎี และนวัตกรรมแต่ละอย่าง เช่น ทฤษฎีใหม่ (The New Theory) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการน้ำ ศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการดิน ศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการป่าและสิ่งแวดล้อม ศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการสหกรณ์ ศาสตร์เกี่ยวกับศิลปะและการดนตรี ศาสตร์ด้านการศึกษา รวมถึงศาสตร์เกี่ยวกับนวัตกรรมในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนหลวง หญ้าแฝก โครงการแกล้งดิน การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นต้น

หากพิจารณาแล้ว ศาสตร์พระราชา จึงเป็นแนวคิดที่ปรากฏในหลักการทรงงาน พระราชดำริ พระราชดํารัส พระบรมราโชวาท ตลอดจนพระราชกรณียกิจ และพระราชจริยวัตรของพระองค์ท่าน โดยพระราชดำริคือ แนวคิดและปรัชญา ส่วนพระราชดํารัส คือ คำสั่งสอน ให้สติ ตักเตือน พระราชกรณียกิจคือหลักการทรงงาน และพระราชจริยวัตรของพระองค์คือ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี โดยเราสามารถน้อมนำศาสตร์พระราชา มาประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคลเช่น การดำเนินชีวิตประจำวันและอาชีพ ที่ซื่อสัตย์สุจริต หล่อเลี้ยงตนเองได้หรือเรียกว่าสัมมาชีพของแต่ละบุคคล และนำมาประยุกต์ใช้ในระดับหน่วยงานชุมชนสังคมจนถึงระดับประเทศชา ติ เช่นการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน “ศาสตร์พระราชา” จัดว่าเป็นศาสตร์หรือเป็นองค์ความรู้เพราะผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า และทดลองตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่น่าสังเกตมากไปกว่าความเป็นศาสตร์โดยทั่วไปคือ ศาสตร์พระราชาซึ่งประกอบไปด้วยโครงการตามแนวพระราชดำริของพระ บาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิ ตร รัชกาลที่ 9 โดยโครงการต่างๆ นั้น มีความหลากหลาย ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สังคม เศรษฐกิจ ศิลปะ หรือวัฒนธรรม ล้วนเป็นพระราชอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการบูรการอย่างลงตัวระ หว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือจะเรียกว่าเป็นศาสตร์ชาวบ้าน เข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ที่เรียกว่าเป็นศาสตร์สากลจนได้เป็นแนวทางการปฏิ บัติที่ดีที่สุด (Best practices) ครอบครัวใด ชุมชน หรือสังคมใดที่น้อมนำเอาศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติ ครอบครัวนั้นนั้นสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างมีความสุข พอเพียง และยั่งยืน ดังนั้นการเป็น “ศาสตร์พระราชา” จึงมีเป็นแนวคิดทฤษฎีที่สามารถพิสูจน์และยืนยันได้ว่าผลสัมฤทธิ์ของ การปฏิบัติตนตามแนวทางแห่งศาสตร์พระราชา ซึ่งหมายถึงความสุขตามอัตภาพอย่างยั่งยืน จะเกิดได้จริงเมื่อได้มีการน้อมนำไปปฏิบัติอย่างลึกซึ้งตามกลไก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ซึ่งจากผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1. ย้อนรอยพระบาทที่ยาตรา : หลักการทรงงานกับการน้อมนำมาปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดเชีย งรายและจังหวัดพะเยา

หลักการทรงงานกับการน้อมนำมาปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังห วัดพะเยา

มหาวิทยาลัยราชภัฏได้มีการน้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในการเป็ นสถาบันการศึกษาหลักเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จากการจัดทำยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2579) ที่กำหนดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา เพื่อบ่มเพาะให้ประชาชนในพื้นที่มีความพร้อมด้วยคุณลักษณะคนไทยที่พึ่งประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง 3) มีงานทำและมีอาชีพ และ 4) เป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย จากการน้อมนำศาสตร์พระราชาและพระราโชบายสู่การปฏิบัติ โดยให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้เรียนรู้หลักการทรงงาน แนวคิดพระราชดำริ และพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรทุก หมู่เหล่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนำมาปฏิบัติทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอ าชีพจนประสบความสำเร็จ เป็นตัวอย่างแก่บุคคลในรุ่นต่อ ๆ ไป เป็นที่ประจักษ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เรื่องราวดังกล่าวได้ปรากฏในชุมชนท้องถิ่นของประเทศ ดังเช่นในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา ได้แก่1) หมู่บ้านใหม่ร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 2) หมู่บ้านผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 3) หมู่บ้านปางสา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 4) หมู่บ้านสะโง้ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และ 5) หมู่บ้านท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ที่ยังมีร่องรอยของสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเคยเสด็จเยี่ยมประชาชน และยังมีบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน หรือบางพื้นที่ที่มีทายาทสืบทอดการปฏิบัติตามศาสตร์พระราชาจากบรรพบุ รุษที่ได้รับการถ่ายทอดศาสตร์พระราชาจากพระองค์ท่าน สู่การปฏิบัติได้จริงจนประสบความสำเร็จในชีวิต

นอกจากนี้ได้พระราชทานโครงการนานัปการ จำนวน 4,596 โครงการ ทั้งด้านการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของ ประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร อุทกภัย เป็นต้น พระองค์ ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อยแม้ในยามทรง พระประชวร ก็มิได้ทรงหยุดยั้งพระราชดำริ หรือแม้ยามที่ประเทศประสบภาวะ เศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพ ตามแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเองบนผืนแผ่นดินไทย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจ ากพระราชดำริ (กปร.) ได้รวบรวมไว้มีหลากหลายถึง 23 หลักการ ซึ่งปวงชนชาวไทยสามารถน้อมนำไปปฏิบัติได้ตามความเหมาะสม

สรุปการน้อมนำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติในพื้นที่

ผลลัพธ์จากพระราชกรณียกิจตามหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบร มชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และการน้อมนำหลักการทรงงานฯ สู่การปฏิบัติจริงของหลักการทรงงานทั้ง 23 ข้อ โดยแต่ละพื้นที่มีอัตลักษณ์และภูมิสังคมที่แตกต่างกัน โดยหลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติจริงของประชาชนใ นพื้นที่การศึกษา ซึ่งหากพิจารณาพบว่า มีผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในด้านการพัฒนามนุษย์ ด้านการพัฒนาและบริหาร สำหรับด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูในมิติของชุมชนพื้นที่ศึกษา พบว่า เป็นด้านสิ่งแวดล้อมและการยกระดับภูมิปัญญาในชุมชนพื้นที่สู่การสร้างสั มมาชีพชุมชน ซึ่งแทรกอยู่ในวิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชน และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่สะท้อนออกมาเป็นการน้อมนำสู่ แบบอย่างการปฏิบัติ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

ด้านวิถีชีวิตและการพัฒนา ประกอบไปด้วย หลักการทรงงาน ระเบิดจากภายใน การแก้ปัญหาจากจุดเล็ก ทำให้ง่าย การมีส่วนร่วม ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด ขาดทุนคือกำไร ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ความจริงใจและซื่อสัตย์สุจริต ความเพียร การพึ่งพาตนเอง และการพออยู่พอกิน พบว่า ประชาชนและชุมชนในพื้นที่น้อมนำพระราชดำริและแบบอย่างตามหลักก ารทรงงานมาปรับใช้ เช่น สัมมาชีพชุมชนที่ทำให้ง่าย ประหยัด เรียบง่าย ใช้การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงขาดทุนคือกำไรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สืบทอดและถ่ายทอดภูมิปั ญญาต่าง ๆ โดยมีตัวแบบเชิงประจักษ์คือกลุ่มทอผ้าบ้านท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ที่มีการพัฒนาจากความเชื่อ วิถีชีวิตของสตรีทอผ้าชาวไทลื้อ สู่การมีผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่เป็นสัมมาชีพและความเข้มแข็งของชุมชน

ด้านการบริหารจัดการ ประกอบไปด้วย การศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบลำดับขั้นภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ องค์รวม ไม่ติดตำรา ใช้อธรรมปราบอธรรม ปลูกป่าในในคน เศรษฐกิจพอเพียง ทำงานอย่างมีความสุข และรู้รักสามัคคี โดยประชาชนและผู้นำชุมชนน้อมนำแบบอย่างตาม ตามหลักการทรงงานมาปรับใช้ในการใช้วิธีคิดเพื่อทำงานเป็นระบบขั้นตอ น และเป็นองค์รวม โดยร่วมบูรณาการงานกับภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ในพื้นที่ เช่น ตชด. โครงการหลวง รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเศรษฐกิจฐานภูมิ ปัญญา ตั้งแต่การเกษตรไปจนถึงการแปรรูปและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน

การน้อมนำหลักการทรงงานฯ มาปฏิบัติในพื้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พบว่า มีจุดร่วมในหลักการ คือการที่ประชาชนน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพร ะบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เป็นฐานคิด ดังนี้

1) จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะหลักการนำทาง ประกอบด้วย สามห่วงสองฐาน คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตน มีฐานความรู้ และ ฐานคุณธรรม

2) วิธีการของศาสตร์พระราชา คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม

     2.1) เข้าใจ หมายถึง การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การใช้และแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์และการวิจัย การทดลองใช้จนได้ผลจริงก่อน

     2.2) เข้าถึง หมายถึงการระเบิดจากข้างใน เข้าใจกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา และสร้างปัญญาสังคม

     2.3) พัฒนา หมายถึง การพัฒนาที่ประชาชนเริ่มต้นด้วยตนเอง พึ่งพาตนเองได้ และ มีต้นแบบในการเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนได้เรียนรู้และนำไปประยุกต์ใ ช้

3) การประยุกต์แห่งศาสตร์พระราชา ต้องทำให้ด้วยความรัก ความปรารถนาและด้วยใจ ต้องประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ไม่ยึดติดตำรา ปรับตามบุคคล สภาพพื้นที่และสถานการณ์ โดยเฉพาะในบริบทของพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมและภูมิสังคมที่แตกต่างกัน

4) เป้าหมายผลลัพธ์ของศาสตร์พระราชา คือแผ่นดินโดยธรรมและประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามตามพระปฐมบรมราชโองการ ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม คือพออยู่พอกิน และรู้รักสามัคคี อันเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2. เรียนรู้สู่ศาสตร์พระราชา :การถอดบทเรียนศาสตร์พระราชาสู่การน้อมนำมาปฏิบัติในพื้นที่จริง

“เรียนรู้สู่ศาสตร์พระราชา : การถอดบทเรียนศาสตร์พระราชาสู่การน้อมนำมาปฏิบัติในพื้นที่จริง” จึงเป็น การนำเสนอผลการวิจัยกระบวนการเรียนรู้สู่ศาสตราพระราชา ซึ่งดำเนินการหลังจากรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยในพื้นที่จังหวัดเ ชียงรายและจังหวัดพะเยา ดำเนินการในลักษณะการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะผู้วิจัย ร่วมกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาศาสตรพระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2562 โดยช่วงแรกของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ให้นิยามของการถอดบทเรียนมี รูปแบบกว้าง ๆ อย่างน้อย 3 ลักษณะ คือ 1) การถอดบทเรียนด้วยนิยาม 2) การถอดบทเรียนเชิงอรรถประโยชน์หรือการนำประโยชน์ที่ได้รับไปใช้ และ 3) การถอดบทเรียนในลักษณะสร้างแนวทางปฏิบัติที่ดีหรือต้นแบบ (Best Practice) โดยมีลักษณะขอบเขตของประเด็นการถอดบทเรียนหลากหลายรูปแบบ เช่น Story Theory CIPP model AAR เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยย้อนรอยพระบาทที่ยาตราเรียนรู้สู่ศาสตร์พระราชา ครั้งนี้เป็นการถอดบทเรียน ในกระบวนการเปรียบเทียบ ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงานก่อนและหลัง และตีความ เพื่อคืนข้อมูลให้กับชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ โดยเป็นไปตามรูปแบบการทบทวนหลังกิจกรรม หรือ AAR (After Action Review) ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในวงจรการดำเนินงานวิจัยเป็นการทบทวนวิธีการทำง าน ทั้งด้านความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน

จากผลการวิจัยและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า ศาสตร์พระราชา เป็นการสืบทอดและ การสานต่อ รวมถึงการน้อมนำไปใช้ประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่วิจัยครั้งนี้ เกิดมุมมองด้าน การพัฒนามนุษย์ การพัฒนาด้านภูมิปัญญา และการบูรณาการสร้างการจัดการเรียนรู้ ถอดและตีความพระปรัชญาที่พระองค์ท่านทรงถ่ายทอดและทำให้เห็นเชิง ประจักษ์ จากองค์ความรู้ภายในสู่องค์ความรู้ที่เป็นศาสตร์ (tacit knowledge to Explicit knowledge) หรือ “การจัดการความรู้” (KM) ในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า กระบวนการจัดการความรู้ เป็นการถอดบทเรียนจากท้องถิ่น (Local wisdom) สู่สากล (Globalization) เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านนวัตกรรม เป็นต้น

โดยที่มาของคำว่าศาสตร์พระราชา มาจาก พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพ ลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรรัชกาลที่ 9 ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดยพระองค์ท่าน ได้ปฏิบัติตามพระปฐมบรมราชโองการตลอดจนถ่ายทอดผ่านการทรงงานใ ห้เห็นในเชิงประจักษ์ ทั้งในการเสด็จพระราชดำเนิน พระราชดำรัสพระราชดำริ และโครงการในพระราชดำริ กว่า 4,595 โครงการ ที่สะท้อนให้เห็นประสิทธิผล ของการดำเนินงาน เป็นคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่าง ๆ และทรงเป็นกษัตริย์นักปรัชญา ซึ่งทรงเป็นปราชญ์ทุกด้าน เช่นในด้านดิน น้ำ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และศาสนา เป็นต้น ซึ่งหากเราในฐานะประชาชน รวมถึงชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่วิจัย และในจังหวัดเชียงรายได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการดำเนินชีวิ ตเบื้องต้น ทำความเข้าใจในความหมายอันลึกซึ้งของศาสตร์พระราชาว่า คือศาสตร์แห่งการประยุกต์ เป็นการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีในชุมชน มาประยุกต์ใช้กับศาสตร์สากล และก่อให้เกิดคำว่า “จะพัฒนาอย่างไรอย่าไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต”

นอกจากนี้ หากพิจารณาการตีความพระปฐมบรมราชโองการที่ว่าด้วย การปกครองแผ่นดินโดยธรรมของพระองค์ท่านแล้ว คำว่า “ธรรม” อาจจะมีความหมายที่เป็นนัยยะซ่อนอยู่อย่างน้อย 3 ประการคือ 1) ธรรมที่แปลว่าธรรมะหรือความดีงาม เป็นการประพฤติปฏิบัติภายใต้ฐานคิดแห่งความดีงาม จึงเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ 2) คำว่า ทำที่แปลว่าการปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และ 3) คำว่า ธรรม ที่แปลว่าธรรมชาติ ปฏิบัติและพัฒนาการอย่างไม่เบียดเบียนธรรมชาติและอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ

ดังนั้น ศาสตร์พระราชา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบ รมนาถบพิตร หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ของปวงชนชาวไทย จึงไม่ใช่การปฏิบัติแบบ One Model for all แต่ เป็นศาสตร์ที่สามารถประยุกต์ใช้ ในแต่ละพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งผลจากการถอดบทเรียนฯ พบว่าชุมชนมีแนวทางการน้อมนำศาสตร์พระราชามาปฏิบัติอย่างน้อย 3 ประเด็นคือ

1. การพัฒนามนุษย์ ทางด้านสภาวะจิตใจ การสร้างความตระหนัก การเรียนรู้ การยอมรับ เป็นต้น และต่อยอดสู่การนำภูมิปัญญาในพื้นที่เกิดการจัดการความรู้จากศาสตร์พร ะราชาสู่การปฏิบัติที่เป็นสากล ในด้านการพึ่งพาตนเอง การจัดการที่ดิน การเกษตร และความเข้มแข็งของชุมชน เป็นต้น

2. การบริหารจัดการ ศาสตร์พระราชาเป็นต้นแบบแห่งการแก้ไขปัญหาในเชิงการบริหารจัดการ ซึ่งหลายพื้นที่ในชุมชนสามารถน้อมนําศาสตร์พระราชามาปฏิบัติ โดยมีผู้กล่าวว่า “ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน” ในมิติที่ต่อยอดจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติดหรือกลุ่ม ชาติพันธุ์ ในพื้นที่ชายแดนของจังหวัดเชียงราย เดิมในสมัยนั้น ซึ่งถือเป็นคนชายขอบในพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยทำให้เกิดการปฏิบัติจริงในพื้นที่ชุมชนอย่างง่าย ๆ ทำให้ชุมชนสามารถเรีนยรู้และนำไปบริหารจัดการด้วยตนเองได้ และการทำตามลำดับขั้นตอน มีผู้สนับสนุนอย่างมีส่วนร่วม ใช้อธรรมปราบอธรรมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ใช้หลักการทำให้ง่ายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงหลักการปลูกป่าในใจคน เพื่อสร้างความยั่งยืนของผืนป่าชุมชน ผืนป่าในพื้นที่ และผืนป่าของประเทศไทย เป็นต้น

3. ด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ พระองค์ท่านทรงสร้างสำนึกการมีส่วนร่วม และความตระหนัก ในการทำงานเพื่อส่วนรวมให้เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเริ่มต้นจากผู้นำและขยายผลสู่ประชาชนในพื้นที่ ทั้งกลไกด้านรัฐศาสตร์การพัฒนา สาธารณสุข การศึกษา และสัมมาชีพ ซึ่งเมื่อชุมชนตระหนักรู้และพึ่งตนเองในด้านต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว จะสามารถต่อยอดการอนุรักษ์พื้นที่ในมิติทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อม และมิติเชิงสาธารณะ หรือจิตอาสาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน